อาหารสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคไต กินอย่างไรให้ปลอดภัย ?

การเลือกรับประทาน อาหารสุขภาพ ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ถือว่าสำคัญมาก เพราะเมื่อคนเราป่วยเป็นโรคไตแล้ว ประสิทธิภาพการทำงานของไตจะลดลง และจะส่งผลให้ขับของเสียออกจากร่างกายน้อย ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตต้องดูแลสุขภาพให้ดี ไม่แพ้ผู้ป่วยโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหารที่ต้องใส่ใจให้มากๆ เพราะอาหารบางชนิดมีสารหรือแร่ธาตุบางอย่างในปริมาณที่สูงมากซึ่งก่อให้เกิดโทษกับผู้ป่วยโรคไต อาจจะทำให้เกิดภาวะไตวายได้ สำหรับอาหารของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ควรจะรับประทาน อาหารเฉพาะโรค ที่สามารถชะลอความเสื่อมของไต อาหารประเภทโปรตีน ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย จะช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมในเรื่องของกล้ามเนื้อในร่างกาย แต่หากได้รับเข้าไปในปริมาณมากๆ จะทำให้ไตทำงานหนัก เนื่องจากต้องขับของเสียออกมา ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อร่างกาย ควรเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูง เช่น พวกเนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เนื่องจากมีไขมันต่ำและยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ไข่ขาว เนื้อหมู เนื้อไก่ (ไม่ติดหนัง-มัน) นมไขมันต่ำ และควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ต่อมาอาหารจำพวกข้าวหรือแป้ง ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้พลังงานสูง แต่ก็อาจจะมีโปรตีนผสมอยู่บ้าง จึงต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ รวมไปถึงอาหารจำพวกที่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอลสูง เป็นสิ่งผู้ป่วยโรคไตควรจะหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยโรคไตควรเน้นรับประทานอาหารที่ทำมาจากธรรมชาติให้ได้มากที่สุด งดเว้นอาหารแปรรูปทั้งหลาย หรือพวกอาหารที่มีโซเดียมเยอะๆ เช่นอาหารหมักดอง หรือใช้เครื่องเทศต่างๆในการช่วยชูรส เพราะจะส่งผลเสียต่อไตเป้นอย่างมาก และถ้าหากผู้ป่วยโรคไตมีภาวะความดันโลหิตสูงเข้าร่วมด้วย จะต้องมีการจำกัดปริมาณโซเดียม โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงรสเค็มจัด จากการใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ รวมถึงอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง และอาหารกึ่งสำเร็จรูป นอกจากนี้ อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ก็ควรงด รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือของหวานที่มีรสหวานจัด ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตแต่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน สามารถรับประทานขนมหวานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงขนมใส่กะทิ หรือขนมอบที่มีเนย เนยแข็ง เพราะขนมอบมักใส่ผงฟู ซึ่งเป็นสารจำพวกฟอสเฟต (ฟอสฟอรัส) สูง ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย และระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ ควรหลีกเลี่ยงขนมหวานจัดซึ่งมีน้ำตาลมาก ไม่ควรใช้น้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคไตยังต้องปฏิบัติตัวด้วยการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น โดยงดบุหรี่ กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นเหตุให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้ รับประทานใยอาหารให้มาก อย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะหากขับถ่ายยากจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และยังมีผลต่อโพแทสเซียมอาจทำให้โพแทสเซียมถูกดูดซึมได้มากขึ้น หากบริโภคอาหารที่ให้พลังงานน้อยเกินไปอาจทำให้น้ำหนักตัวลดลง มีการสลายของกล้ามเนื้อมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อน หากมีอาการรุนแรงอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรใส่ใจในเรื่องของโภชนาการควบคู่ไปกับการดูแลจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงต่อผู้ป่วย และควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถชะลอการเสื่อมโรคไตได้ ไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
สำหรับการป้องกันไม่เกิดโรคไต ก็สามารถควบคุมได้ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคไต หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคไต สามารถป้องกันได้โดยวิธีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานอาหารสดใหม่จากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ที่เติมเกลือและ น้ำตาลปริมาณสูงกว่าปกติ เพื่อประโยชน์ในด้านรสชาติ และยืดอายุการเก็บรักษา ควรรับประทานอาหารที่ไม่หวานมาก และอาหารที่มีรสเค็ม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไต และทำให้ทำงานไม่หนักมาก นอกจากนี้วิธีป้องกันโรคไตที่ง่ายๆคือ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารพวกที่มีรสจัด และควรออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคไตได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์อีกด้วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว