อาหารสุขภาพ สำหรับ ผู้สูงอายุ รับประทานอย่างไรให้ครบ 5 หมู่

อาหารสุขภาพ อาหารหลัก 5 หมู่ คือสิ่งที่คนเรารับประทานเข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ และไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม เนื้อสัตว์ ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค ที่ผู้สูงอายุจะต้องรับประทานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้อาหารชนิดต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกาย ล้วนแต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อชีวิต และยังมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ สมอง กระดูก และผิวหนัง ช่วยให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ที่สึกหรอของร่างกาย ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายเป็นปกติ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายในการต้านทานโรคต่าง ๆ ทำให้เราไม่เจ็บไม่ป่วยได้ง่าย ๆ เป็นต้น ยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว ถือว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะผู้สูงอายุมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อที่จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ถึงแม้ว่าร่างกายของผู้สูงอายุ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ก็เป็นข้อดีที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุ มีร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และช่วยทำให้รักษาอาการป่วยได้ดี สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ทั้งยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการบรรเทาอาการป่วยได้เป็นอย่างดี

ซึ่ง อาหารสุขภาพ อาหารหลัก 5 หมู่ ก็คือ อาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันรวม 5 ชนิด โดยสารอาหารที่เหมือนกันจะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน และร่างกายก็ต้องการสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หรือ 5 ชนิด ในแต่ละวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถจะให้สารอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งจะมีการให้สารอาหารและพลังงานที่แตกต่างกัน โดยเราสามารถแบ่งอาหารออกเป็นหมู่หลัก ๆ ได้ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว) คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน) เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (พืชผัก) วิตามิน (ผลไม้) ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์) ซึ่งผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเสื่อมสลายลง มากกว่าสร้างเสริมเหมือนช่วงวัยอื่นๆ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในหลายๆด้าน รวมถึงเรื่องสำคัญอย่างการรับประทานอาหาร โดยควรที่จะมีการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก และต้องมีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ และทานในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ปริมาณอาหารของแต่ละมื้อควรจะลดลงแต่กินให้บ่อยขึ้นเพื่อช่วยให้การย่อยอาหารสะดวก และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยอาหารรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ควรจะจัดเตรียมอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง โดยเฉพาะเนื้อปลาเหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะย่อยง่าย ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดควรต้มจนสุด นมสดพร่องมันเนยเป็นอาหารที่ให้แคลเซียม และโปรตีน ต่อมาคือสารอาหารหลักประเภทคาร์โบไฮเดรต ควรจะเป็นข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน สารอาหารหมู่นี้เป็นอาหารที่ให้พลังงานเป็นส่วนใหญ่ ผู้สูงวัยควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรทานมากเกินไป ยิ่งถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะเบาหวานด้วยแล้ว จะต้องมีการดูแลในเรื่องของปริมาณให้เหมาะสม เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ ต่อมาอาหารประเภท ผักเป็นอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ ผู้สูงวัยควรเลือกกินผักหลายๆ ชนิดสลับกัน ควรต้ม หรือนึ่งจนสุก ไม่ควรบริโภคผักดิบ เพราะย่อยยาก และทำให้ท้องอืดได้ และยังช่วยในเรื่องของการการบดเคี้ยวทำให้เคี้ยวอาหารได้ละเอียดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรรับประทาน ผลไม้ต่างๆ ผู้สูงอายุควรกินผลไม้ทุกวัน เพื่อให้ได้รับวิตามินซี และเส้นใยอาหาร และควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย ได้แก่ มะละกอสุก กล้วยสุก และสุดท้ายอาหารประเภทไขมัน ได้แก่ น้ำมันพืช ควรใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันจากสัตว์ และน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เห็นไหมว่า การรับประทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เสามารถกำหนดและเลือกรับประทานอาหารได้ ให้เหมาะสมกับร่างกายและจะทำให้ผู้สูงอายุได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วนตามหลัก 5 หมู่ อีกด้วย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ และยังช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว