หลายคนไม่ทราบ อาหารชนิดใดบ้าง ช่วยให้อารมณ์ดี

อาหารนอกจากจะช่วยบำบัดโรคและฟื้นฟูสุขภาพแล้ว อาหารยังมีอิทธิพลต่อ อารมณ์ความคิด ความจำ พฤติกรรมการเรียนรู้ และความฉลาด ของคนเราอีกด้วย

ดร. ริชาร์ด เวิร์ทแมน ( Richard wortman) นักวิจัยทางด้านอาหารและสมอง  แห่งมหาวิทยาลัยเอ็มไอทีประเทศสหรัฐอเมริกา  พบว่า     สารอาหารบางชนิดจะถูกนำไปสร้าง สารนิวโรทรานสทิตเตอร์  ที่สมองผลิตออกมา ได้มาจากการเลือกกินอาหาร  อาหารที่เรากินมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสร้างสารเคมีในสมอง   สารเคมีนี้มีชื่อว่า  “สารนิวโรทรานสมิตเตอร์”  ที่มีผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกของมนุษย์  เช่น  มีความรู้สึก เจ็บ กังวล ความเครียด โกรธ  ตื่นเต้น  เป็นต้น

 

นอกจากนี้การผลิตสารสื่อประสาทในสมองยังต้องการวิตามินและแร่ธาตุหลายตัวในการทำงานเช่นวิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี ธาตุเหล็กแคลเซียม และแมกนีเซียม  (จากหนังสือ อาหารบำบัดโรค อาจารย์ศัลยา     คงสมบูรณ์เวช)

วิตามินบี  ช่วยเร่งการส่งต่อข้อมูลของเซลล์สมอง โดยช่วยให้เยื่อหุ้มรอบๆเซลล์ทำงานเป็นปกติ  ถ้าอาหารที่กินมีวิตามินบีไม่เพียงพอก็จะทำให้สมองได้รับพลังงานไม่เพียงพอเช่นกันและอาจจะทำให้ขึ้นสมองผิดปกติมีอาการ สับสนฉุนเฉียวง่าย  สมาธิและความจำลดลง

ธาตุเหล็ก  ช่วยส่งเสริมการผลิตสารสื่อประสาทในสมอง

วิตามินอี  ป้องกันสารสื่อประสาทในสมองถูกทําลาย

 

ถ้าอาหารที่เรากินไม่มีวิตามินและสารอาหารเหล่านี้เพียงพอในการช่วยผลิตสื่อประสาทในสมอง  ระดับสารสื่อประสาทในสมองจะน้อยลง  และไม่ทำไม่เพียงพอที่จะสะสมไว้ใช้งานจะทำให้คนนั้นอารมณ์ไม่ดีบูดบึ้งหรือถ้าต้องการใช้ความคิดก็จะคิดอะไรไม่ค่อยออก  แต่พอเราเสริมอาหารนั้นเข้าไปสักระยะหนึ่งจนระดับกลับคืนสู่ปกติจะแก้ไขอารมณ์ให้ดีขึ้น

 

สารอาหารบางชนิด  เช่น  โปรตีนสังกะสี  วิตามินบี6  ไอโอดีน กรดโฟลิก  และวิตามิน บี12 จำเป็นต่อการพัฒนาการปกติของระบบประสาท  หากผู้หญิงขาด สาร เหล่านี้ในขณะตั้งครรภ์จะทำให้ลูกเกิดมามีระบบประสาทผิดปกติโดยไม่สามารถทำให้คืนสู่สภาพปกติได้  มีผลทำให้บุคลิกภาพการทำงานของสมองและพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างถาวร

 

 

เรามาปรับอาหารเปลี่ยนอารมณ์กันด้วย

  1. เพิ่มความตื่นตัวด้วยโปรตีน ดังนั้น การกินอาหารที่มีโปรตีนสูงจะช่วยเพิ่มความตื่นตัวของอารมณ์ให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระชุ่มกระชวยได้  ซึ่งได้แก่อาหารที่มีโปรตีนสูง  ได้แก่  ปลา สัตว์น้ำอื่น ๆ  สัตว์ปีก    เนื้อหมู เนื้อไก่  เนื้อวัว  เนื้อสัตว์อื่นๆ  เนยแข็งและไข่  และถ้าเป็นคนที่ไม่ชอบกินเนื้อสัตว์ให้เลือกอาหารโปรตีนสูงอื่นที่มีคาร์โบไฮเดรตผสม  เช่น  ถั่วต่างๆ  นม  นมถั่วเหลือง  และเต้าหู้เป็นต้น

2.เพิ่มความสดชื้น กระปรี้กระเปร่าอารมณ์ดี ความคิดแล่น  ด้วยการทานอาหารเช้าที่มีไขมันต่ำที่มีโปรตีนเล็กน้อย  หรือนมถั่วเหลืองไม่หวาน 1 แก้วและน้ำส้ม 1 ผลก็จะเป็นอันอาหารเช้าที่มีคุณภาพดีที่ช่วยปรับอารมณ์ได้  แต่ทางกลับกันถ้าเรากินอาหารเข้าที่มีไขมันสูง จะทำให้ ร่างกายเฉื่อยชา อ่อนล้าไม่สดชื่น และไม่ว่องไว

 

3.ถ้าต้องการให้อารมณ์ผ่อนคลายไม่เครียด  ก็ควรเลือกกินอาหารคาร์โบโฮเดรตที่ไม่ขัดสี แต่ถ้ากินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปสมองจะผลิตสารเซโรโทนินออกมาอย่างเหลือเฟือก็จะทำให้ง่วงนอนได้

 

4.ลดไขมันโดยเฉพาะไขมันไม่ดี เช่นไขมันทรานส์ และไขมันอิ่มตัว อาหารไขมันสูง จะช่วยเพิ่มน้ำหนักและเร่งโรคหัวใจ แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ อาหารไขมันสูงทำให้สมองคิดช้าลง และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

 

5.ใช้กาแฟอีน ให้ถูกโอกาส ลด อารมณ์ซึมเศร้า

สารกาแฟอีนได้ชื่อว่าเป็นสารกระตุ้นให้ตื่นตัว ถ้าใช้ในปริมาณน้อย จะทำให้สดชื่น ภายในไม่กี่นาทีหลังจากดื่ม  ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ในบางโอกาสที่ถูกจังหวะก็จะให้ผลดีได้ ในคนที่มีปัญหาซึมเศร้าแต่น้อยและไม่จำเป็นต้องใช้ยา สารกาแฟอีน เพียงเล็กน้อยช่วยลดอารมณ์ซึมเศร้าได้ ถ้าดื่มวันละ 1-2 ถ้วย แต่ถ้ามากกว่านั้น จะให้ผลตรงกันข้าม กาแฟอีนจะอยู่ในร่างกายนาน 4-15 ชั่วโมง  ดื่มมากจะทำให้ตาค้างได้ในเวลากลางคืนและยังอาจรบกวนการทำงานของจิตใจได้ในวันรุ่งขึ้น  ทำให้สมองตื้อและมีอาการกระวนกระวายใจได้ ยิ่งถ้าติดกาแฟจะทำให้หงุดหงิดและปวดหัว  นอกจากนี้ทั้งกาแฟและชายังมีสารแทนนิน  ซึ่งรบกวนในการทำงานของธาตุเหล็กที่ช่วยเพิ่มพลังสมองได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์

 

6.กรดโฟลิก ช่วยลดอาการซึมเศร้า

นักวิจัยพบว่า  การขาดกรดโฟลิก มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการซึมเศร้า  เพราะทำให้ระดับ เซโรโทนิน ในสมองลดลง คนไข้โรคจิต ที่มีอาการซึมเศร้าจะมีระดับกรดโฟลิกต่ำกว่าคนปกติ  ฉะนั้นถ้าได้รับการเสริมกรดโฟลิกเล็กน้อยเพียงวันละ 200 ไมโครกรัม ซึ่งเท่ากับโฟลิก ที่มีในผักโขมสุก 1 ถ้วยหรือน้ำส้ม 1 แก้ว  ก็จะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

 

7.กินปลาทะเลเพิ่มกรดโอเมก้า- 3 ช่วยลดอาการซึมเศร้า

ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหดหู่มักจะมีระดับเซโรโทนินต่ำ  การกินปลาจะช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินในสมองและยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ จึงควรกินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งหรือเสริมน้ำมันปลาที่มีทั้ง อีพีเอ และ ดีเอชเอ วันละ 1 กรัม

8.ขาดสารซีลีเนียม ทำให้อารมณ์บูดได้

ผู้ที่ขาดซีลีเนียม จะมีอาการหงุดหงิด วิตกกังวล ฉุนเฉียวอารมณ์ไม่เป็นมิตร และซึมเศร้ากว่าผู้ที่มีระดับซีลีเนียมปกติ  ในคนเหล่านี้หากได้รับการเสริมสารซีลีเนียมก็จะแก้ไขอารมณ์ได้ เมื่อระดับซีลีเนียมกลับสู่ปกติ  แต่อย่าคิดว่าถ้าหากถ้าอยากให้อารมณ์ดีมาก ๆ ต้องเสริมซีลีเนียมมากๆเพราะในความเป็นจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นและอาจจะทำให้เกิดซีลีเนียมเป็นพิษได้

 

9.กินไข่ลดความจำเสื่อม

บางคนไม่กินไข่เพราะกลัวคอเลสเตอรอล  แต่ไข่มีสารโคลีนสูง  ซึ่งเป็นวิตามินที่มีมากในถั่วเหลือง ถั่วลิสง เนยถั่ว ดอกกะหล่ำและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเช่น ตับ ไข่แดง ถ้าขาดโคลีนจะทำให้ ความจำเสื่อม  ขาดสมาธิได้สารโคลีน เป็นสารที่สมองใช้สร้างสารสื่อประสาทในสมองที่เรียกว่า “อะเซทิลโคลีน” คนที่มีระดับโคลีนต่ำ  จะมีความจำเสื่อมและอาจจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

ฉะนั้นไม่ต้องเนื่องการกินไข่  เพราะว่า กินไข่วันละ 1 ฟอง  และลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรารส์ เพิ่มใยอาหารที่ละลายน้ำได้  จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้และยังให้ประโยชน์ต่อสมองอีกด้วย

 

SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ ได้ เห็นแล้วว่าอาหารมีอิทธิพลต่ออารมณ์ที่แปรเปลี่ยนไปในชีวิตประจำวัน หากเลือกอาหารให้ทุกชนิด  นอกจากจะมีสุขภาพดีแล้วยังช่วยส่งเสริมให้อารมณ์ดีได้อีกด้วย การที่เรามีอารมณ์ดีก็จะทำให้คนรอบข้างมีความสุขไปด้วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว