สมุนไพรช่วยบำรุงสายตา

เวลาเราอ่านหนังสือ นานๆ จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง  และมีปัญหาปวดตา  ปวดหัวได้เช่นกัน  ที่สำคัญอาจจะเร่งความเสื่อมของดวงตาได้จากการอ่านหนังสือติดต่อกันเป็นเวลานาน  เมื่อ เราเกิดมีปัญหาด้านสายตา เราจะหาตัวช่วย คือแว่นสายตา  และตัวช่วยอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ  “อาหารบำรุงสายตา” จากข้อมูลของ สถาบันจักษุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา  SN อาหารเพื่อสุขภาพ  ขอนำ มาฝาก ต่อไปนี้เป็นอาหารที่ดีต่อสายตา  เป็นตัวสำคัญที่นักอ่านทุกคนต้องใส่ใจคือ

1.ไบโอฟลาโวนอยด์(bioflavonoid) หรือวิตามินพี   พบมากในบลูเบอร์รี่ห รือบิลเบอร์รี่ องุ่นแดง  ส้ม และแคนเบอร์รี  ไบโอฟลาโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือสารแอนโทไซยานิน  ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะทำอันตรายเลนส์ตาและสร้างความแข็งแรงให้สารคอลลาเจน ซึ่งเป็นโครงสร้างบริเวณกระจกตา และเส้นเลือดฝอยในตา

 

ในคศ 1960 นักวิจัยชาวฝรั่งเศสพบว่า สารแอนโทไซยานินที่สกัดจากบิลเบอร์รี่ช่วยให้สายตาทำงานดีขึ้นในที่มืด  ปัจจุบันสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ ได้รับความนิยม มากรองมาจากลูทีน  เพราะนอกจากจะช่วย ป้องกันเลนส์ตาแล้วยังช่วยให้มองเห็นในที่มืด หรือที่มีแสงสลัว ๆ ได้ชัดเจน   บิลเบอร์รี่หรือบลูเบอรี่สด วันละครึ่งถ้วย  – 1 ถ้วยตวง ให้สารแอนโทไซยานินเท่ากับที่ร่างกาย ต้องการในการรักษาสุขภาพตา

 

2.ไรโบฟลาวิน(Riboflavin )หรือ วิตามินบี 2   ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ของสารต้านอนุมูลอิสระ  มีรายงานวิจัยในผู้สูงอายุ อายุวัย 65 ถึง 74 ปี ที่กินไรโบฟลาวินและ ไนอาซินเสริมเป็นประจำ พบว่าการเกิดต้อกระจก ในผู้สูงอายุเรานี้ลดลงถึง 44 เปอร์เซ็นต์  แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังการเสริมไรโบฟลาวินมาก เกินกำหนดแทนที่จะเป็นประโยชน์กับจะเป็นอันตรายต่อตา เพราะจะเพิ่มความไว ของดวงตาต่อการทำลายโดยแสงแดดได้

 

3.แร่ธาตุสังกะสี   มีหน้าที่สำคัญในการนำวิตามินเอ จากตับไปสู่เรตินา  เพื่อช่วยในการสร้าง     เมลานิน(melanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยป้องกันอันตรายกับดวงตา ในส่วนของ เรตินาจะพบสังกะสีในปริมาณสูง อาหารที่มีธาตุสังกะสีสูง เช่นเนื้อสัตว์  อาหารทะเล ถั่วเมล็ดแห้ง  ถั่วแช่แข็ง  ในรูปถั่วกระป๋อง   ต่าง ๆ อาจมีผลในการป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตาได้เช่นกัน

 

จากการวิจัยของสถาบันตาแห่งชาติ  สหรัฐอเมริกา (National Eye Institute) พบว่าการเสริมวิตามิน อี ร่วมกับสังกะสีในผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป   จะช่วยลดปัญหาตาบอดจากจอประสาทตาเสื่อมได้  และงานวิจัยในผู้ป่วย 150 คนที่มีปัญหาโรคจอประสาทตา  เสื่อมเนื่องจากอายุพบว่าเมื่อเสริมสังกะสีวันละ 80 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2 ปี จะสามารถลดความรุนแรง ของโรคลงได้ถึง 42 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบ กับกลุ่มที่ได้ยาหลอก  แต่ปริมาณสังกะสี ที่ใช้ในการศึกษา นี่สูงเกินระดับที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำไว้

  1. ระวังอาหารรสเค็มจัด หรือ อาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะว่าโซเดียมเป็นส่วนประกอบของเกลือแกง อาหารที่มีโซเดียมสูงนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูงแล้ว  ยังอาจมีส่วนทำให้เกิดต้อกระจกได้     งานวิจัยในชาวออสเตรเลียวัยกลางคน และวัยสูงอายุ  2800  คน  พบว่าผู้กินอาหารที่มีโซเดียมมากที่สุด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกเป็น 2 เท่าของผู้กินโซเดียมน้อยที่สุด
  2. ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่จะทำลายเลนส์ตา และทำให้จอประสาทตาเสื่อมนั้นเป็นสิ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยการใช้แว่นกันแดดที่สกัดกั้นรังสี UV  เลิกสูบบุหรี่ และบริโภคผักผลไม้ ที่มีสารแอนติออกซิแดนท์ และสาร แอนโทไซยานินสูง
  3. การบริโภคผักและผลไม้วันละ 9 ส่วน สามารถช่วยลดความเสี่ยง ต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมได้แน่นอน  กว่าการเสริมวิตามิน  และไม่มีอันตราย   ผักผลไม้หลายชนิด ที่มีสารลูทีน และซีแซนทิน  รวมถึงสารแอนโทไซยานินสูง เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีนเช่นกัน   นอกจากนี้ การบริโภคผักผลไม้ อย่างหลากหลายเพิ่มขึ้น ยังช่วยในการรักษาสุขภาพกายด้านอื่นๆ ป้องกันโรคเรื้อรังไม่ติดต่อมากมาย

 

SN  อาหารเพื่อสุขภาพ  ขอแนะนำ พริกหยวก  มีทั้งวิตามินเอและวิตามินซีสูง ซึ่งวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นวิตามินบำรุงสายตาชั้นดี  เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดผักบำรุงสายตา  หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์กับทุกคนที่ไม่อยากให้มีปัญหากับดวงตาของเรา

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว